ทำไม ต้องแค่ ทำไร่ ทำนา ทำอย่างอื่นได้ไหม

Last updated: 2 ต.ค. 2560  |  2840 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ชาวไร่ ชาวนา 

ทำไม ต้องแค่ ทำไร่ ทำนา ทำอย่างอื่นได้ไหม

ผมเติบโตมากับครอบครัวขาวไร่ ชาวนา ก็เห็นการทำมาตั้งแต่เกิด ผมเชื่อได้ว่า ครอบครัวผมไม่เคยซื้อข้าวกิน รอเก็บเกี่ยวผลผลิต (จากการลงแขก) แล้วนำไปเก็บไว้ในยุ้งในฉาง สามารถเก็บไว้พอกินในฤดูกาลถัดไป แต่ถ้าเหลือเยอะหน่อยก็จะแบ่งไปขาย

ชาวนา กับ การค้าขาย
ชาวนา ทำนามาทั้งปี รอผลผลิต การขายข้าวซึ่งชาวนาก็บ่นกันอยู่ร่ำไปว่า เมื่อไหร่ข้าวจะขึ้นราคา สัก 5-10 สตางค์ (ผมเรียกว่ายังไม่ถึง สลิง เลย) ชาวนาไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการค้าขายข้าว ไม่รู้แหล่งที่ขาย ขายผ่าน ยี่ปั๊ว ซึ่งราคาว่าเท่าไหร่ก็เท่านั้น

ในยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง ชาวไร่ชาวนา (มีเฉพาะที่ทำกิน) เงินจะซื้อพันธ์ุข้าว พันธ์ุพืช (ต้นกล้า) ไม่รู้จะไปหาจากที่ไหน จะซื้อปุ๋ยก็ต้องวิ่งเต้นหา หยิบยืมเงิน จากนายทุน เท่านั้น (ผมชื่อว่า นายแบงค์ พาณิชย์ คงไม่ปล่อยกู้ให้กับชาวนาแน่นอน มีแต่ที่พึ่งพาอาศัยได้ ก็ ธกส (หลัก พัน หลัก หมื่น ) ไปทำเรื่องแต่ละทียาวเหยียด ไปตั้งแต่เช้ากับซะมืด) ผมชินชากับมันมากในตอนนั้น

ผมเรียนรู้ การแปรสภาพทุน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  
เราจะหาแหล่งเงินทุนจากที่ไหน นำมาแปรสภาพ (เปลี่ยนแปลงรูปแบบ) แล้วหาแหล่งที่ขาย (โดยไม่ผ่านยี่ปั๊ว ซาปั๊ว)

แต่แล้วโชคไม่ได้เข้าข้างผม การหาแหล่งเงินทุน เป็นการหาที่ยากที่สุด (ในช่วงเวลา วัยรุ่น) ซึ่งขาดความเชื่อถือ ความรอบครอบ (ยังขาดคุณสมบัติ ของการเป็นผู้กู้ที่ดี) ถ้าจะกู้ก็ต้องหาผู้ใหญ่มารับรอง (ใช้คำว่าผู้ใหญ่) ต้องดูประวัติย้อนหลัง 6 เดือน (ผมยังเป็นลูกชาวนา อยู่เลย) จะให้ผมอธิบายเรื่องทำนา ก็พอรู้ (ข้าวเขาเก็บเกี่ยวกันเป็นปี จะเอาอะไรมาย้อนหลัง ต้องถามว่าปีที่แล้วนาข้าวเป็นงัย ฝนแล้งไหม มันถึงจะถูก)

ผมหาวิธี ทำธุรกิจ แบบไหนที่จะต้องไม่ใช้เงินทุน
ประสบการณ์ : ผมขึ้นไปขายของบนห้างฯ ดัง (MBK) ทำไมผมเลือกแหล่งนี้นะเหรอ (มีความเชื่ออยู่แค่ 2 ประการ)

1. ผู้คนเยอะแยะมากมาย สำคัญที่ว่า ถ้าซื้อเสื้อผ้า ต้องไปประตูน้ำ ถ้าจะซื้อคอมพิวเตอร์ ต้องไปพันธุ์ทิพย์ ก็อีกนั้นแหล่ะ ถ้าจะซื้อมือถือล่ะ ต้อง MBK เท่านั้น สมัยนั้นเรียกว่า เป็นแหล่งผู้นำเทคโนโลยี
2. ผมในฐานะ (พ่อค้า) เพิ่งรู้เหมือนกันว่า แหล่งสินค้าใหญ่ ๆ จะมีทั้งผู้ส่ง และ ผู้ขาย ในสถานที่แห่งนั้น จึงมีผู้ค้าส่งเป็นจำนวนมาก (ผมเลยใช้วิธีตรรกกะที่ว่า) ในร้านผมต้องมีสินค้าทุกอย่าง ขายทุกอย่าง (เพราะผมสามารถไปเอาของจากร้านค้าส่งได้ทั้งหมด)

นี่คือข้อดีทั้งสองอย่างที่ผม เรียนรู้โดยไม่ต้องใช้เงินจำนวนมาก

ผมนั่งทำงาน อยู่มาวันนึง เกิดเหตุการณ์ การบ้านการเมือง ผมไม่อยากโทษใครนะ (แต่ผมโทษตัวเองว่า ทำไม ทำไม ทำไม เรามานั่งรอแบบนี้) เพราะลูกค้าเข้ามาซื้อของไม่ได้ เพราะความหวาดกลัว (ไม่กลัวก็บ้าแล้ว จะเผาบ้านเมืองซะขนาดนั้น)

ผมเลยมานั่งคิด และหาวิธีว่า ถ้าลูกค้าเข้ามาในพื้นที่ไม่ได้ เราควรทำอย่างไร
1 เลิกกิจการ (เพราะค่าเช่าสูง)
2. ทำต่อแต่ลดขนาด Size ลง
3. ไปต่อ โดยการเพิ่มช่องทางใหม่ (อันนี้ ผมสนใจสุด)

นั้นเป็นที่มา ให้ผมไปศึกษาระบบ Amazon Ebay และนี่เลย คนจนอย่างผม Alibaba (ซื้อมาแล้วขายเลย) แค่ผมคิดว่า ผมไม่อยากขายในพื้นที่ของเขา ผมจะที่เช่าเอง (Host) ผมก็เลยรู้ว่านี่แหล่ะ ทางออกสุดท้าย ปลายอุโมงค์ จริง ๆ

เพียงแค่การค้าขาย ชาวนา ชาวไร่ (เป็นรองอยู่หลายขุม) เพียงแค่มีช่องทางการจัดจำหน่ายมันน้อยนิดจริง ๆ

ในยุคบ้านเมืองเรา เป็นเมืองเกษตรกรรม ย่ำแย่ (ผมจึงเรียนรู้ และฟังเพลงเพื่อชีวิตมานาน) มีวลีเด็ด ประโยคหนึ่ง

เมื่อครั้งยังหนุ่มแกเคยทํานา
มุ่งเอาหลังสู้ฟ้า...ปลูกข้าวให้คนกิน
หนี้สินล้นตัวเพราะมัวแต่ทํานา
ไม่เคยเรียนรู้วิชา...ที่นาก็หลุดลอย

มาเป็นจับกังที่แบกหามวันยังคํ่า
เหน็ดเหนื่อยแทบตายได้แต่ค่าแรงตํ่าตํ่า
แกเป็นคนจน ที่เสียเปรียบเป็นประจํา
กลํ้ากลืนความชอกชํ้า...ถ้าไม่ทําก็อดกิน

วิชาความรู้ จะสามารถพาเราผ่านพ้นวิกฤตินั้น ผมจะเรียนรู้วิชา ไม่ว่าจะในห้องเรียน นอกห้องเรียน (จะจบปริญญาแล้ว หรือ จะไม่จบ) ผมยังคิดว่า การต่อยอดที่ดีคือ ความรู้

Business Model นี้ (ผมจะให้คนมีความรู้ เรื่องธุรกิจเบื้องต้นให้มากที่สุด โดยเฉพาะ SME) การต่อยอด ถึงจะเกิดขึ้นได้ การแปรสภาพ การเปลี่ยนแปลงความคิด ทัศนคติ การสร้างแรงบันดาลใจ จึงต้องมีทุกช่วงๆ ของการดำเนินชีวิต

"หากก้าวเท้าไปบนถนน แล้วไม่ก้าวต่อ เราจะไม่มีวันรู้ว่าถนนไปสิ้นสุดที่ตรงไหน"

สรุป ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน เป็นแค่ชื่อเรียก สำหรับคนทำงาน เมื่อก่อนผมก็ถูกเรียกเป็นชาวไร่ ชาวนา ตอนนี้ผมทำงาน ตกแต่ง ก็ถูกเรียกว่า สถาปนิก (ทั้ง ๆ ที่ผมไม่เคยเรียนมาทั้ง 2 วิชา วิชาทำนา วิชาออกแบบ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้