ทำไม บริษัท ส่วนใหญ่ ปลายทางต้องหันเข้าไปในตลาดหุ้น มันหอมหวนหอมหวานจริงหรือ?

Last updated: 2 ต.ค. 2560  |  1936 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไม บริษัท ส่วนใหญ่ ปลายทางต้องหันเข้าไปในตลาดหุ้น มันหอมหวนหอมหวานจริงหรือ?

ผมตั้งคำถาม ให้กับตัวเองตั้งแต่เริ่มต้นว่า ถ้าบริษัท เราดี มีกำไร และสามารถขยายกิจการได้ (น่าจะทำกำไรให้เราไม่น้อย)

แล้ว ทำไม เราถึงนำธุรกิจ ไปกระจายในหุ้น (ผมเลยค้นหาคำตอบ ได้มาแบบนี้ครับ)

อธิบาย เพิ่มเติม หน่อยนะ (เดี๋ยวจะงง) หุ้น Set 50 Set 100 ต่างกันอย่างไร ง่าย ๆ ครับ Set 50 บริษัทยักษ์ใหญ่ แถวหน้าเมืองไทย มูลค่าหุ้นสูงๆ ครับ สำหรับ Set 100 ก็รองๆ ลงมา ตามสัดส่วน

เลือกเก็งกำไรเอานะ (ฟลุค ๆ มา อาจจะมีเงินใช้) ส่วนใหญ่แมงเม่าปีกแข็งทั้งนั้นครับ

ผมพูดเฉพาะ Set นะ ครับ ไม่ใช่ TFEX

ในขณะนี้ เราจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ (หุ้น) ด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ นา ๆ (บริษัทหน้าใหม่) เราควรจะไปอยู่ใน Set ไหน (ลองคิดดูครับ)

ถามว่า เมื่อบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจดีอยู่แล้ว ทำไมต้องไปเข้าตลาดหลักทรัพย์อีกล่ะ เราควรจะขยาย และ เอากำไรแต่เพียงผู้เดียว ไม่ดีกว่ารึ

ผมตอบแบบนี้ครับ เมื่อตลาดหุ้นเห็นว่าบริษัทฯ เราดี มีพื้นฐานดี นโยบายดี วิสัยทัศน์ดี เราควรจะขยายโดยการเพิ่มทุน การเพิ่มทุน (ถ้าไม่ไปกู้แบงค์) ก็ต้องหาผู้ร่วมลงทุน (ในแบบขายหุ้น ผ่าน ตลาดหลักทรัพย์ หรือ IPO)

การกระจายหุ้น การลงทุน คือ การขยายกิจการ ไปพร้อมการกระจายความเสี่ยง ไปพร้อมๆ กัน

เมื่อมีกำไร ก็มีกำไรด้วยกัน
แต่เมื่อใดขาดทุน ก็ควรที่จะขาดทุนไปด้วยกัน
ฉันใดฉันนั้น ตลาดหุ้น (ควรมีข้อมูลในการเข้าซื้อหุ้น หรือ เป็นส่วนหนึ่งของกิจการนั้นๆ) ภัยธรรมชาติ ไม่สามารถ การันตีหุ้น ได้แม้แต่บาทเดียว

เคยยกตัวอย่าง ปี 40 เงินบาท ลอยตัว วิกฤติ ต้มยำกุ้ง (คนถือครองหุ้น ตอนนั้นแถบจะยืนด้วยขาตัวเองไม่ได้ทั้งนั้น) ยกเว้น คุณสิริวัฒน์ แซนวิส ที่กล้าประกาศตัวว่า เจ๊ง เพราะหุ้น แล้วกลับมายืนด้วยขาตนเอง สองข้างทางทุกวัน ทุกวัน

มาวันนี้ จากวิกฤต บทเรียนครั้งสำคัญในชีวิตนั้น ทำให้ คุณสิริวัฒน์ แซนวิส กลับมาเป็น SME เต็มตัว กำลังดำเนินธุรกิจแบบชนิดหลังชนฝา (มุ่งหน้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นตลาดที่คุ้นเคย)

คุณ วสันต์ เบ็นซ์ทองหล่อ (เดิม โพธิพิมพานน์) ในนาม เบ็นซ์ทองหล่อ Idol ในเชิงธุรกิจอีกท่าน ที่ออกมาบอกว่า คนรวยๆ (ที่เจอ วิกฤติ ต้มยำกุ้ง) ผมจะเปิดตลาดนัดคนเคยรวย (ช่วงนั้นฮือฮามาก)

จนปัจจุบัน สโลแกน ถูกเปลี่ยนไป ถ้า (เป็นคนดี ต้องขี่เบ็นซ์) ไม่แน่ใจ ผมเคยอ่านหนังสือท่านล่าสุด (ว่าจะนำชื่อจริงมาเปลี่ยนใช้ชื่อเล่นแทน) คือ เก๋ง เบ็นซ์ทองหล่อ (รอติดตามครับ)

เจ้าของบริษัทฯ คือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้กำไรสูงสุด เมื่อ ขาย IPO

เช่น รู้จักกันดี ในนาม น้าแอ๊ด ยืนยง โอภากุล (คาราบาว) ถือครองหุ้น คาราวกรุ๊ป เป็น ลำดับต้น ๆ ธุรกิจดำเนินการมาจนสุกงอม มีกำไร มีส่วนแบ่งทางการตลาดชัดเจน (ได้เวลารวย) จึงตบท้าวเข้าตลาดหลักทรัพย์ทำให้ น้าแอ๊ด คาราบาว มีกำไรใน IPO ไม่น่าจะต่ำกว่า 2000 ล้านบาท

SME หรือ Start UP Company (ถ้าต้องการวางแผนให้ถึง ณ จุดนั้น ควรทำอย่างไร)

การขยาย การเจริญเติบโตธุรกิจ หรือ มีกำไรมาก เพียงอย่างเดียวไม่พอ

วันนี้ SME หรือ Start UP Company อย่างเรา กำลังขับเคลื่อนธุรกิจ หรือความเข้มแข็งของประเทศ บริษัทฯ ยักษ์ใหญ่ กำลังคืบคลาน เข้ามาใกล้เรา เพื่อหวังฮุบ และ แย่งชิงส่วนแบ่งเล็ก ๆ จากพวกเรา (และถีบตัวเองทยาน เข้าตลาดหลักทรัพย์ ด้วยความมั่นใจ ในเรื่องข้อมูลและเงินทุน)

Passion ของคุณเป็นอย่างไร

เห็นที่มา ของคำว่า “เริ่มต้น” และ “ปลายทาง”

“เริ่มต้น ทำอย่างไรไม่สำคัญเท่า ลงมือทำ”
“ปลายทาง สำเร็จอย่างไรไม่สำคัญเท่า สุกงอมและมีความสุข”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้